วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2561

พลังเครือข่ายสัมมาชีพเคลื่อนที่ CDD : Mobile ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุดรธานี

1.     ความเป็นมา
กรมการพัฒนาชุมชน โดยสถาบันการพัฒนาชุมชน ได้มอบหมายให้ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุดรธานี ดำเนินกิจกรรมโครงการพลังเครือข่ายสัมมาชีพเคลื่อนที่ : CDD MOBILE เพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นเครื่องมือในการใช้พลังชุมชนในการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาชุมชน เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนให้มีความมั่นคง และชุมชนมีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดยวิทยากรผู้นำสัมมาชีพ ที่ผ่านการฝึกอบรมจากศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุดรธานี เป็นผู้ขับเคลื่อน โดยมีเจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯ เป็นพี่เลี้ยง
2.     ขั้นตอนวิธีการ
2.1   จัดประชุมชี้แจงให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของโครงการฯ กระบวนการ/
วิธีการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการฯ
2.2   จัดทำแผนการดำเนินงาน ตามกิจกรรมทั้ง 5 กิจกรรม
2.3 รวบรวมข้อมูลของจังหวัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบที่ส่งแผนความต้องการฝึกอบรมของกลุ่ม
เข้ามา จำนวน 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น เลย อุดรธานี หนองคาย 
หนองบัวลำภู สกลนคร บึงกาฬ
2.4   ดำเนินการคัดเลือกพื้นที่ในการออกให้บริการการตามโครงการฯ โดยใช้มติความเห็นชอบ
จากที่ประชุมเป็นผู้คัดเลือก
2.5   คัดเลือกวิทยากรสัมมาชีพที่ผ่านการฝึกอบรมจากศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุดรธานี เพื่อ
เป็นทีมให้บริการความรู้ตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
2.6   จัดประชุมเพื่อร่วมกันจัดทำหลักสูตร
2.7   ดำเนินการฝึกอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ที่ได้รับคัดเลือก
2.8   ติดตามผลการดำเนินงานและให้คำแนะนำ
2.9   ติดตามประเมินผล
3.     ผลการดำเนินงาน 5 กิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 เตรียมความพร้อมชุมชน (จังหวัดดำเนินการ)
กิจกรรมที่ 2 สร้างองค์ความรู้และจัดทำแผน ดำเนินการระหว่างวันที่ 8-9 กุมภาพันธ์ 2561 ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุดรธานี กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุดรธานี และวิทยากรสัมมาชีพ จาก 4 จังหวัด จำนวน 10 คน โดยมีกระบวนการขั้นตอน ดังนี้
-          เชิญวิทยากรผู้นำสัมมาชีพที่มีความรู้เรื่องการทอผ้า การย้อมผ้า จากจังหวัดในพื้นที่เขต
บริการของศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุดรธานี ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ สกลนคร หนองคาย 
ขอนแก่น  รวม 4 จังหวัด จำนวน 10 คน
-          จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุดรธานี จำนวน 2 วัน
-          ดำเนินการสกัดองค์ความรู้จากวิทยากรผู้นำสัมมาชีพ
-          ร่วมกันจัดทำแผนการฝึกอบรมให้ความรู้ตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายผลลัพธ์ของ
กิจกรรมที่ 2 คือ 1. หลักสูตรการย้อมฝ้ายด้วยสีธรรมชาติ 2. วิทยากรสัมมาชีพ 5 คน 3. ตารางฝึก
อบรม 4. แผนการดำเนินงาน 5. เอกสารประกอบการฝึกอบรม
กิจกรรมที่ 3 ใช้องค์ความรู้และสร้างพลังความร่วมมือ ดำเนินการระหว่างวันที่ 26-27 กุมภาพันธ์ 2561 ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชน บ้านคำดอกไม้ ม.7 ต.นายูง อ.ศรีธาตุ จ.อุดรธานี ดำเนินการดังนี้
-          จัดกิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องทฤษฎีการสกัดสี  ผสมสี  ย้อมสี  และหมักโคลน 
ผ้าฝ้าย
-          ฝึกปฏิบัติ
กิจกรรมที่ 4 เติมเต็มองค์ความรู้ ดำเนินการระหว่างวันที่ 4 เมษายน 2561 ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชน บ้านคำดอกไม้ ม.7 ต.นายูง อ.ศรีธาตุ จ.อุดรธานี ดำเนินการดังนี้
วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ ออกหน่วยบริการเคลื่อนที่เพื่อติดตามผลความก้าวหน้าโดยการจัดเวทีชุมชนเพื่อนำเสนอผลความก้าวหน้า โดยผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมได้นำผลงานมานำเสนอการย้อมสีฝ้ายด้วยสีธรรมชาติ ปรากฏผล ดังนี้
ผลงานก่อนฝึกอบรม

ผ้าพันคอจะเป็นสีที่ย้อมจากสีเคมี

ระหว่างฝึกอบรม

วิทยากรบรรยายทฤษฎีของสีจากธรรมชาติและความรู้เรื่องตัวแปร



 ใบมะม่วง  

ขมิ้นสด

วิทยากรเน้นการใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติที่มีอยู่ในพื้นถิ่น
 แก่นฝาง
 สีสกัดเย็นจากขมิ้น
 สีสกัดเย็นจากใบมะม่วง
 ล้างเส้นฝ้ายและนำไปต้มไล่ไขมันเพื่อให้สีติดดี
 ย้อมและนวดให้สีเข้าไปในเส้นฝ้ายหมักไว้ 6 ชม.
 ฝ้ายที่ย้อมด้วยสีจากใบมะม่วง
 ฝ้ายที่ย้อมด้วยสีขมิ้น
 ฝ้ายที่ย้อมด้วยสีจากแก่นฝาง สกัดร้อน

เคล็ดลับ ระหว่างที่ทำการย้อมสีให้นวดหรือขยำให้สีเข้าไปใสเส้นฝ้ายอย่างทั่วถึงและหมักทิ้งไว้อย่างน้อย 6 ชม. ถึงนำมาซักล้างตากให้แห้ง หรือหากต้องการสีที่เข้มขึ้นให้ย้อมเหมือนเดิมอีกครั้งหนึ่ง 

หลังจากได้รับการฝึกอบรม


หลังจากที่วิทยากรสัมมาชีพได้ให้ความรู้ในการย้อมสีธรรมชาติ โดยเน้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ แล้วได้มาติดตามผลการดำเนินงานซึ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ผลิตผ้าพันคอเพื่อเตรียมจำหน่ายในตลาดประชารัฐ

-          เติมเต็มองค์ความรู้ให้แก่ชุมชนเป้าหมาย
การประเมินผลงานของผู้เข้าอบรม
สิ่งที่ควรปรับปรุงเพิ่มเติม
1.      รูปแบบผลิตภัณฑ์สวยงามแต่ยังไม่ละเอียด
2.      เนื้อผ้าทอหนาเกินไปไม่เหมาะกับอากาศเมืองร้อน
3.      ความยาวของผ้าคลุมไหล่ยังไม่ได้มาตรฐาน
4.      สีของเส้นฝ้ายยังสีอ่อนเกินไป
5.      ยังไม่มีอัตลักษณ์ของผ้า
6.      ยังไม่มีความรู้เรื่องการจับคู่สี
1.      การมาร์คจุดสิ้นสุดเพื่อต่อลายผ้าควรมาร์คด้วยเส้นด้ายภายนอก เพื่อไม่ให้ผ้าเกิดตำหนิ
2.      ถ้าต้องการสีที่สดใส หรือเข้มขึ้นให้ย้อม 2-3 ครั้ง
3.      ความยาวมาตรฐานของผ้าคลุมไหล่ อยู่ที่ 180-250 ซม.
4.      การทอผ้าควรใช้เครื่องทอขนาด 6 ฟืม และควรใช้แบบ 2 เขา เพื่อป้องการการทอลายผิดพลาด
5.      การทอผ้าบางจะทำให้ผ้าไม่แข็งมีความพลิ้ว เหมาะกับสภาพอากาศของประเทศไทย
6.      ให้ศึกษาเรื่องทฤษฎีการจับคู่สีเพิ่มเติมเพื่อสร้างผลงานที่มีสีสันสวยงาม เป็นที่นิยมของตลาดปัจจุบัน

สิ่งที่วิทยากรสัมมาชีพได้แนะนำเพิ่มเติมคือการสร้างสัญลักษณ์ของผ้าทอบ้านคำดอกไม้ ให้มีสัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่าเป็นผ้าที่ผลิตจากบ้านคำดอกไม้ ซึ่งมีอยู่ 3 วิธี คือ 1. การเพ้นท์ด้วยสีจากธรรมชาติ 2. การปักลาย 3. การทอลาย ซึ่งวิทยากรสัมมาชีพ ได้สาธิตการเพ้นท์ผ้าลายนาคาจากสีธรรมชาติ ซึ่งเป็นลายเอกลักษณ์ของบ้านดุง เพื่อเป็นตัวอย่างให้ผู้อบรมเห็นความสำคัญของการสร้างลวดลาย จึงให้ข้อเสนอแนะในการสร้างลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง